วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

HTML คืออะไร




   HTML ย่อมาจากคำว่า HyperText Markup Language เป็นภาษาที่ใช้ในการแสดงผลของเอกสารบน website หรือที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ เป็นภาษาที่พัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C)

HTML เป็นภาษาที่สำคัญมากกับเทคโนโลยีบนเว็บไซต์ ไม่ว่าคุณจะเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ด้วยภาษาใด ๆ ๆ เช่น PHP, ASP, Perl หรืออื่น ๆ คุณก็ต้องมีความจำเป็นในการแสดงผลข้อมูลออกมายัง Web Browser ด้วยภาษา HTML เป็นหลักใหญ่ หรือให้เรามองว่า HTML คือ Output ในการแสดงผลสู่จอภาพของ Web Browser

รูปแบบการเขียนของภาษา HTML
HTML มีรูปแบบการเขียนในลักษณะ TAG ซึ่ง TAG นี้จะมีทั้ง TAG เปิด และ Tag ปิด โดยที่ TAG จะมีลักษณะ ดังนี้
<TAG>…………………</TAG>
<TAG> คือ TAG เปิด
</TAG> คือ TAG ปิด
แต่กระนั้นในภาษา HTML ก็ยังมีรูปแบบของ TAG อีกประเภทหนึ่ง คือ TAG เดี่ยว ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมี TAG ปิดเข้าร่วมด้วย เช่น
<BR> เป็น TAG สำหรับการขึ้นบรรทัดใหม่ของ HTML
<IMG> เป็น TGA สำหรับการแสดงรูปภาพ
ภาษา HTML เป็นภาษาที่ไม่คำนึงถึงขนาดของตัวอักษร เช่น TAG <IMG> เราจะเขียนเป็น <img> or <Img> ก็จะสามารถแสดงผลได้เช่นเดียวกัน และภาษา HTML ไม่มีการแจ้ง Error แต่อย่างใดหากผู้เขียนมีการเขียน TAG ซึ่งผิดพลาด เพียงแต่ภาษา HTML จะไม่แสดงผลตามที่ต้องการเท่านั้นหากเรามีการเขียน TAG คำสั่งผิดพลาด


โครงสร้างของ HTML
HTML มีรูปแบบโครงสร้างที่ประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนของ HEAD สำหรับข้อมูลในส่วนหัวของ HTML เช่น ข้อความบน Title bar เป็นต้น
2. ส่วนของ BODY สำหรับการแสดงผลยังหน้าเอกสาร หรือหน้า Web Browser
โดยทั้ง 2 ส่วนประกอบข้างต้น จะถูกกำกับภายใต้ TAG <HTML> ….. </HTML>

» HEAD Section
ส่วนของ HEAD ของเอกสาร HTML เป็นส่วนที่เราจะสามารถใส่คำอธิบายเว็บเพจ เช่น Title หรือชื่อเรื่องของเอกสาร, Keyword สำหรับการค้นหา ซึ่งเราจะเขียน TAG ในกลุ่มของ HEAD ไว้ภายใน TAG <HEAD> …… </HEAD> เช่น

<html>
<head>
<meta http-equiv=content-type content="text/html; charset=tis-620">
<title>ข้อความปรากฏบน Title Bar</title>
</head>
<body>
.................................................................
.................................................................
</body>
</html>


- <TITLE>
คือข้อความที่จะแสดงผลบน Title Bar บน Web Browser
- <META HTTP-EQUIV="Content-Type" CONTENT="text/html; charset=TIS-620">
คือ TAG สำหรับการกำหนด Encoding ของ webpage
Head เรายังสามารถใส่หรือพิมพ์ TAG อื่น ๆ เข้าไปได้อีก เช่น TAG <script> หรืออื่น ๆ เป็นต้น

» Body Section
ส่วนของ Body เป็นส่วนที่จะแสดงผลออกไปยังหน้า Web Browser เช่น การแสดงผลรูปภาพ การแสดงผล Contents การสร้างจุดเชื่อมโยง ซึ่งเราจะเขียน TAG ในกลุ่มของ Body ไว้ภายใน TAG <BODY> ….. </BODY> เป็นต้น

<body>
<p>Hello.....HTML</p>
<a href=”http://www.dwthai.com”>GO TO DWTHAI.COM</a>
</body>
</html>



- <P> คือ การกำหนด Paragraph ของข้อมูลภายในเว็บเพจ
- <A> คือ การสร้างจุดเชื่อมโยง หรือ Link
ภายใน TAG <BODY> ยังมี TAG ที่เราจะใช้งานอยู่มากมายเพื่อใช้ในการตกแต่งหน้า webpage ของเรา เช่น การกำหนดสีตัวอักษร, การแทรกรูปภาพ, การสร้างตาราง เป็นต้น

เริ่มต้นเขียน HTML
เราสามารถเขียน HTML ได้จากโปรแกรม TEXT Editor ทั่วไป เช่น Notepad เป็นต้น โดยวิธีการเขียน ก็เหมือนกันการพิมพ์เอกสารทั่ว ๆ ไป เพียงแต่เวลาที่เราทำการเซพ (Save) ไฟล์ให้เราทำการ Save เก็บไว้เป็นไฟล์นามสกุลเป็น *.htm or *.html
http://www.dwthai.com/Article/begin_html.htm


HTML (ชื่อเต็มคือ Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) คือภาษามาร์กอัปออกแบบมาเพื่อใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรับ .html และ สำหรับ .htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร


[แก้] มาร์กอัป
ลักษณะชนิดของมาร์กอัป ใน HTML

มาร์กอัปสำหรับ โครงหลัก อธิบายจุดประสงค์ ของข้อมูล ตัวอย่างเช่น
<h2>ฟุตบอล</h2>
กำหนดให้เบราว์เซอร์คำนวณ "ฟุตบอล" เป็นลักษณะของหัวข้ออันดับที่ 2 มาร์กอัปโครงหลัก โดยปกติไม่ได้กำหนดลักษณะการแสดงผล แต่อย่างไรก็ตาม ทางเบราว์เซอร์กำหนดการแสดงผลมาตรฐานของมาร์กอัป โดยปกติจะแสดงผลในลักษณะที่ตัวอักษรขนาดใหญ่ และมีความหนา การกำหนดลักษณะสามารถทำได้ในส่วนของ Cascading Style Sheets (CSS)
มาร์กอัปสำหรับ การแสดงผล อธิบายการแสดงผลของ ข้อความโดยไม่ได้มีความหมายอื่นในทางโครงสร้าง ตัวอย่างเช่น
<b>ตัวหนา</b> <i>ตัวเอียง</i> <u>ขีดเส้นใต้</u>
กำหนดให้คำว่า "ตัวหนา" แสดงผลในลักษณะตัวหนา เช่นเดียวกับการแสดงผลใน ตัวเอียง หรือ ขีดเส้นใต้
มาร์กอัปไฮเปอร์เท็กซท์ อธิบายการเชื่อมโยงระหว่าง ส่วนหนึ่งของข้อมูลไปยังอีกส่วนหนึ่งของข้อมูล ไม่ว่าจะถูกจัดเก็บในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น
<a href="http://wikipedia.org/">เว็บไซต์วิกิพีเดีย</a>
กำหนดให้การแสดงผล เว็บไซต์วิกิพีเดีย เป็น ไฮเปอร์ลิงก์ ไปที่ URL ที่กำหนดไว้

[แก้] การพัฒนาเว็บเพจแนวใหม่ด้วยมาร์กอัป <Div>
เนื่องจากข้อจำกัดของ HTML ทำให้ผู้ใช้แนวทางเก่าใช้แท็ก Table ในการจัดโครงสร้างของเนื้อหา ในปัจจุบัน ได้มีแนวทางใหม่ในการใช้แท็ก Div ร่วมกับ การกำหนด CSS ในการจัดโครงสร้างของเนื้อหา ตามแบบฉบับการทำงานของบริษัทแมโครมีเดีย ซึ่งทำให้เราสามารถออกนอกกรอบและสามารถจัดเอกสารได้ง่าย และรวดเร็วกว่า อีกด้วย

ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/HTML".

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น