วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พัฒนาการของการสื่อสารและเทคโนโลยี






ในปัจจุบันนี้เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้สะดวกมาก แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ การสื่อสารได้มีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย ผู้เขียนจะกล่าวถึงวิวัฒนาการของการสื่อสารตั้งแต่ยุคแรกของมนุษย์ดังนี้ เชื่อกันว่าการสื่อสารระยะไกลของมนุษย์ในยุคแรกๆน่าจะเป็นการการตีเกราะ เคาะไม้ การส่งเสียงต่อเป็นทอดๆ และการส่งสัญญาณควัน

(1) การสื่อสารด้วยการตีกลองให้สัญญาณ

(2) การส่งเสียงต่อเป็นทอดๆ

(3) การสื่อสารด้วยสัญญาณควัน 

(4) การสื่อสารกันโดยการเขียนข้อความ ในกระดาษแล้วผูกติดกับขานกพิลาบ
ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักวิธีการเขียนหนังสือ ก็มีการคิดวิธีการสื่อสารกัน แบบใหม่โดยการฝากข้อความไปกับนกพิราบ หรือการส่งข้อความไปกับม้าเร็ว

(5) การสื่อสารโดยใช้ม้าเร็ว ถือข้อความไปส่งตามหัวเมืองต่างๆ

รหัสมอร์ส
ต่อมาเมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ก็เกิดการปฏิวัติการสื่อสารขึ้นโดยมนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเดินทางไปหากัน ไม่ต้องตีเกราะเคาะไม้ ไม่ต้องส่งสัญญาณควัน ไม่ต้องใช้ม้าเร็ว ไม่ต้องใช้นกพิลาบ เมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้การสื่อสารระยะไกลก็ได้มีการพัฒนาตามเทคโนโลยีใหม่ โดยแซมมวลมอร์ส นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นคนแรกที่คิดวิธีการสื่อสารสมัยใหม่(ในตอนนั้น)โดยการส่งสัญญาณไปตามสาย มอร์สได้กำหนดรหัสขึ้นมาใช้ในการสื่อสาร ด้วยการส่งกระแสไฟฟ้าให้ไหลไปตามสายไฟฟ้า และกำหนดให้มีจังหวะของการไหลยาวบ้างสั้นบ้างเป็นจังหวะ แล้วนัดหมายกับฝ่ายรับปลายทางว่ารหัสแต่ละตัวหมายถึงตัวอักษรตัวใด เช่น กระแสไฟฟ้าที่ไหลเป็นจังหวะ ยาว - ยาว - สั้น หมายถึง ตัวอักษร “ ก ” เป็นต้น การส่งสัญญาณในรูปรหัสนี้เรียกว่าการส่งโทรเลข ท่านผู้อ่านที่มีอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป คงเคยส่งโทรเลข การส่งโทรเลขในยุคแรกๆเป็นการส่งข้อความในรูปของรหัส สั้น-ยาว ดังที่กล่าวไปแล้ว รหัสที่ใช้ในการส่งโทรเลขเรียกว่ารหัสมอร์ส 
รหัสที่มอร์สกำหนดขึ้นมาโดยใช้สัญญาณเพียงสองลักษณะเท่านั้นคือสัญญาณไฟสั้นกับ ยาว ซึ่งจะแทนด้วย . กับ - ( จุด กับ ขีด ) จุดเกิดจากการกดคันเคาะในช่วงเวลาสั้นๆ ส่วนขีดเกิดจากการกดคันเคาะแช่ไว้เป็นเวลาที่นานกว่า มอร์สนำเอารหัสจุดกับขีดนี้มาผสมกันแล้วกำหนดเป็นรหัสสัญญาณโทรเลขของตัวอักษรต่างๆขึ้นมา รหัสมอร์สของสัญญาณโทรเลขภาษาไทยเป็นดังรายละเอียดข้างล่างนี้
ส่งโทรเลข
ในการส่งโทรเลขจะต้องมีคนเคาะคันเคาะเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าในรูปของสัญญาณสั้น-ยาวสลับกันไปสัญญาณนี้จะวิ่งไปตามสายโทรเลข

(6) คันเคาะสัญญาณโทรเลขแบบมอร์ส
และในการส่งโทรเลข เจ้าหน้าที่ต้องจำรหัสของตัวอักษรและสระได้ทุกตัวอย่างเป็นอย่างดีจึงจะสามารถส่งโทรเลขได้ 

(7) พนักงานโทรเลขกำลังเคาะคันเคาะเพื่อส่งโทรเลขด้วยรหัสมอร์ส
ต่อมาได้มีการนำเอารหัสมอร์สนี้มาประยุกต์ใช้ในการส่งสัญญาณไฟ โดยการเปิด-ปิดไฟเป็นจังหวะสั้น- ยาว สลับกันไป ถ้าเปิดไฟนาน แสงจากดวงไฟจะเรียกว่าแสงวาบ ถ้าเปิดไฟในช่วงเวลาสั้นๆ แสงไฟจะเรียกว่าแสงวับ
- - . สัญญาณไฟจะอ่านว่า วาบ วาบ วับ แทนตัว ก 
- . - . วาบ วับ วาบ วับ แทนตัว ข
- . - วาบ วับ วาบ แทนตัว ค
- . - - . วาบ วับ วาบ วาบ วับ แทนตัว ง
- . . - . วาบ วับ วับ วาบ วับ แทนตัว จ
- - - - วาบ วาบ วาบ วาบ แทนตัว ฉ

เครื่องโทรพิมพ์
เนื่องจากการสื่อสารกันด้วยโทรเลขค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้ผู้ที่ชำนาญเป็นอย่างมากและใช้เวลาฝึกฝนเป็นปีจึงจะสามารถรับหรือส่งข้อความต่างๆได้ เนื่องจากผู้รับหรือส่งจะต้องจำรหัสให้ได้ทุกตัวตั้งแต่ ก ไก่ จนถึง ฮ นกฮูก และสระทุกตัว หรือถึงแม้เจ้าหน้าที่บางคนจะจำรหัสได้ทุกตัว แต่บางคนก็ไม่สามารถรับข้อความได้ เนื่องจากสัญญาณเหล่านี้จะมาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ถ้าไม่ชำนาญจะไม่สามารถรับข้อความเหล่านี้ได้ ต่อมาเมื่อวิทยาการก้าวหน้าขึ้น ได้มีการประดิษฐ์เครื่องโทรพิมพ์เพื่อทำหน้าที่ในการส่งและรับโทรเลขแทนคนเครื่องโทรพิมพ์นี้ก็ใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับโทรเลขแต่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำรหัสตัวอักษรต่างๆ ในการส่งโทรเลขด้วยเครื่องโทรพิมพ์ ผู้ส่งก็เพียงแต่พิมพ์ตัวอักษรที่ต้องการส่งลงไปในเครื่องโทรพิมพ์ เครื่องโทรพิมพ์ก็จะเจาะรูบนแถบกระดาษให้เป็นรหัสมอร์ส 

ในการส่งโทรเลขด้วยเครื่องโทรพิมพ์ก็เพียงแต่นำแถบกระดาษที่เจาะรูแล้วนี้ ไปป้อนให้กับเครื่องส่งโทรพิมพ์ เครื่องส่งโทรพิมพ์ก็จะส่งเป็นสัญญาณโทรเลขออกไป ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเครื่องส่งโทรพิมพ์ก็คือเครื่องส่งโทรเลขที่ไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่เคาะคันเคาะเหมือนกับการส่งโทรเลข

ถ้าถามว่าการส่งสัญญาณด้วยรหัสมอร์สในปัจจุบันนี้ ยังมีการใช้อยู่หรือไม่ ไม่มี ) ท่านผู้อ่านที่ตอบว่าไม่มี ผิดครับ !! อาจะมี  มี ท่านผู้อ่านคิดว่า ( ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆจะก้าวหน้าไปมาก แต่ในปัจจุบันการส่งสัญญาณด้วยรหัสมอร์สก็ยังมีการใช้อยู่ ตัวอย่างเช่นในทางทหารยังมีการติดต่อสื่อสารกันโดยใช้รหัสมอร์ส หรือสัญญาณไฟ เนื่องจากในยามฉุกเฉินหรือในยามสงคราม การสื่อสารในระบบอื่นๆอาจถูกตัดขาด การสื่อสารทางสัญญาณไฟหรือสัญญาณมอร์สก็จะถูกนำมาใช้แทนได้ หรือกล่าวง่ายๆว่า ถ้ามีการสื่อสารหลายรูปแบบย่อมจะดีกว่าที่จะมีการสื่อสารรูปแบบเดียว จากพัฒนาการของการสื่อสารจะสังเกตเห็นว่าการสื่อสารด้วยรหัสมอร์สก็พัฒนามาจากการสื่อสารด้วยสัญญาณควันหรือสัญญาณการตีเกราะเคาะไม้นั่นเอง แม้ว่าโทรเลขจะเป็นการสื่อสารที่รวดเร็วมากเพราะว่าส่งปั๊บก็ถึงปุ๊บ แต่การส่งโทรเลขก็ยังไม่ค่อยสะดวกเพราะว่าเป็นการส่งตัวอักษรทีละตัว และบ่อยครั้งที่ผู้รับแปลรหัสผิดและเกิดผลเสียหาย
โทรศัพท์
ต่อมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถแปลงเสียงพูดให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าได้ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bel) จึงได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นมา และโทรศัพท์จะมีการเปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายโทรศัพท์ แล้วโทรศัพท์ปลายทางจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้านั้นกลับมาเป็นสัญญาณเสียงเหมือนเดิม และเรียกการสื่อสารในลักษณะนี้ว่าโทรศัพท์แบบใช้สายหรือโทรศัพท์บ้าน 

ในตอนที่มีโทรศัพท์บ้านใหม่ๆ ถือได้ว่าการสื่อสารแบบนี้เป็นการสื่อสารที่มีความสะดวกมาก แต่เนื่องจากมนุษย์นี้มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อใช้โทรศัพท์บ้านไปนานๆคนก็เริ่มรู้สึกว่าโทรศัพท์บ้านนี้ไม่สะดวก คุยโทรศัพท์แล้วจะเดินไปเดินมาก็ไม่ได้ หรือไปเที่ยว ป่า เขา ทะเล ก็คุยกับเพื่อนไม่ได้ ต่อมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์พบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งสามารถเดินทางไปในที่ต่างๆได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง จึงได้มีการประดิษฐ์โทรศัพท์ไร้สายขึ้น แล้วคนไทยได้ตั้งชื่อโทรศัพท์แบบนี้ว่า “ โทรศัพท์มือถือ ” ชื่อนี้เมื่อชาวต่างประเทศได้ยิน คงแปลกใจว่า แล้วโทรศัพท์แบบอื่นคนไทยใช้อะไรถือ ? โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันก็พัฒนามาจากวิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ ทหาร และอาสาสมัครใช้ในการติดต่อสื่อสารกันภายในหน่วยงาน 

วิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ ทหารและอาสาสมัครใช้ ไม่สามารถส่งและรับพร้อมกันได้ ดังนั้นในการติดต่อสื่อสารกันตอนจบข้อความจะต้องมีคำลงท้ายว่า”เปลี่ยน “ คำว่า เปลี่ยน หมายความว่าให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนพูดบ้าง และวิทยุโทรศัพท์แบบนี้จะมีศูนย์กลางทำหน้าที่รับและถ่ายทอดสัญญาณไปยังเครือข่ายที่อยู่ใกล้เคียง 

การประชุมทางไกล
การสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น(ไม่ได้หมายความว่าคนในปัจจุบันมีความสุขมากขึ้น) ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้ โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมเดียวกัน

การประชุมทางไกลผ่านเครือข่ายสื่อสาร(videoconference) 
และในการประชุมก็ไม่ต้องมีเอกสารเป็นปึกๆเหมือนแต่ก่อน เพราะว่าเอกสารต่างๆจะอยู่ในรูปแผ่นดิสก์หรืออยู่ในเครือข่ายที่สามารถดึงข้อมูลออกมาได้ทันที 

การสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ต
เมื่อการสื่อสารด้วยโทรศัพท์มาถึงจุดที่ค่อนข้างจะอิ่มตัว ก็ได้มีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นมาคือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันเราก็สามารถพูดคุยกับเพื่อนได้ทั่วโลกโดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตและมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการใช้โทรศัพท์ นอกจากนี้ก็สามารถใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการจัดการเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาฟิสิกส์ ส่วนหนึ่งก็มีการจัดเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง

จากวิวัฒนาการของการสื่อสารที่มีการพัฒนาการอยู่ตลอดเวลาดังที่กล่าวมาแล้ว ไม่รู้ว่าในอนาคตของการสื่อสารจะพัฒนาไปจนถึงขั้นใช้โทรจิตติดต่อกันหรือไม่ และปัจจุบันมีรายงานการวิจัยออกมาว่า เราสามารถทำการทดลองเพื่อทำนายความคิดของผู้ถูกทดลองได้ แต่รายงานการวิจัยนี้ผู้เขียนไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่อะไร เพราะว่าในปัจจุบันก็มีคนที่สามารถรู้ความคิดของคนได้โดยการมองดวงตา เนื่องจากใครๆก็รู้ว่าดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ และเชื่อว่าในอนาคตก็อาจจะมีคนประดิษฐ์โทรจิตก็เป็นได้ และหวังว่าคนที่ประดิษฐ์โทรจิตได้เป็นคนแรกน่าจะเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และผู้เขียนอยากจะบอกท่านผู้อ่านและนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ว่า ” คำว่าเป็นไปไม่ได้ “ ไม่ควรจะนำมาใช้บ่อยนัก เพราะว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่เราเห็นหรือที่เราใช้อยู่ในทุกวันนี้ ก็เคยเป็นสิ่งที่ในสมัยก่อนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น ในสมัยก่อนพูดถึงขอมดำดินก็คงไม่มีใครคิดว่าคนไทยจะสามารถดำดินได้เหมือนขอม แต่ในปัจจุบันคนไทยก็สามารถดำดินไปโผล่ในที่ต่างๆได้แล้ว หรือในสมัยรัชกาลที่ 1 ก็คงไม่มีใครคิดว่าเราสามารถคุยคนทุกมุมโลกโลกได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่ต้องเดินทางไปไหนเลย

บรรณานุกรม

โพรโทคอล




โพรโทคอล (protocol)
คือ ข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์จะจัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน และในแต่ละโพรโทคอลจะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น จำเป็นต้องมีโพรโทคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบสองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้ โพรโทคอลนี้เป็นข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยวกับกับสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบข้อผิดผลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโพรโทคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย ซึ่งหาไม่มีโพรโทคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
โพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารมีหลายประเภทเช่น
1. โพโทคอลเอชทีทีพี (Hyper Text Transfer Protocol : HTTP) เป็นโพรโทคอลหลักในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นช่องทางสำหรับเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภาษา เอชทีเอ็มแอล ใช้ร้องขอหรือตอบกลับระหว่างเครื่องลูกข่าย ที่ใช้โปรแกรมค้นดูเว็บกับเครื่องแม่ข่าย โดยทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีพี (Transfer Control Protocol : TCP)

2. โพรโทคอลทีซีพีฝไอพี (Transfer Control Protocol/Internet Protocol :TCP/IP) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีการระบุผู้รับ ผู้ส่งในเครือข่าย และแบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็ตส่งผ่านไปทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากการส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดจะมีการร้องขอให้ส่งข้อมูลใหม่

3. บลูทูท (bluetooth) เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz ในการรับส่งข้อมูล คล้ายกับระบบแลนไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง เป็นต้น เข้าด้วยกันได้สะดวก

ขอขอบคุณที่มา หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์

เทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์




เทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลในครือข่ายคอมพิวเตอร์ .........




ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบเครือข่ายแบบไร้สายนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้


1. Frequency Hopping Spread Spectrum (FHSS)FHSS
      เป็นเทคโนโลยีเก่า      สามารถรองรับการรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วค่อนข้างต่ำแค่ประมาณ 1 - 2 Mbps เท่านั้น FHSS จะใช้วิธีในการแบ่งข้อมูลเป็นส่วนเล็กๆ แล้วส่งข้อมูลไปในช่วงเวลาหนึ่งๆ นั้น แต่ถ้าหากมีข้อมูลที่ต้องการจะส่งมากกว่า 1 ข้อมูล ก็จะทำการแบ่งการส่งข้อมูลในความถี่ที่แตกต่างกัน โดยจะใช้การสลับกันส่งข้อมูล ใช้เวลาในการส่งข้อมูลแต่ละครั้งประมาณ 0.4 วินาทีในหนึ่งความถี่ ซึ่งสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 79 ช่วงความถี่ที่ต่างกัน 
 วิธีการรับ-ส่งข้อมูลแบบ DSSS   นี้จะใช้วิธีส่งข้อมูลแบบต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่มีการกระโดดเหมือนกับแบบ FHSS โดยจะแบ่งช่วงความถี่ในการส่งข้อมูลเป็น 11 ช่วงความถี่ แต่ละช่วงความถี่จะใช้ค่าความถี่ประมาณ 22 MHz ทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงขึ้น คือ ประมาณ 1 – 11 Mbps แต่เนื่องจากวิธีการรับ-ส่งข้อมูลแบบ DSSS นี้ใช้ช่วงความถี่ในการรับ-ส่งข้อมูลค่อนข้างกว้าง ทำให้จำนวนของข้อมูลที่จะสามารถส่งไปพร้อมกันได้นั้น ลดลงเหลือเพียง 3 ช่วงความถี่เท่านั้น


อ้างอิง

- หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2

http://www.kmitl.ac.th/~s9010184/wireless5.htm



    

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์





ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์



          
         ระบบเครือข่าย (Network System) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป
เข้าด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในห้องเรียน ภายในองค์กร ระหว่าง อาคาร ระหว่างเมืองต่าง ๆ 
ตลอดไปจนถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วทั้งโลกที่เรียกว่า "อินเทอร์เน็ต" (Internet)
          
          การติดต่อสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์
กับคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยอาศัยระบบการสื่อสาร   ต่อมาเมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นความต้องการในการ
ติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน
 เรียกว่า ระบบเครือข่าย (Network System) 
          ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System) เป็นวิธีการทางด้านการสื่อสารข้อมูล
ที่กำลังได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในระบบสำนักงาน
 ซึ่งเป็นระบบที่มี บุคคลากรในการทำงานน้อยที่สุดโดยอาศัย
เครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสาร ระหว่างเครื่องมือเข้า
ด้วยกัน 
          สำนักงานที่จัดว่าเป็นสำนักงานอัตโนมัติประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือ
  1. Networking System  คือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร
  2. Electronic Data Interchange   คือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบข่ายงาน
  3. Internet Working   คือ การรวมตัวกันของระบบข่ายงานที่กระจายอยู่ทั่วโลก จนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
  4. Paperless System  คือ ระบบที่ไม่ใช้กระดาษบทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่งคือการให้บริการข้อมูล


ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
 1.  จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว 
 2.  ความถูกต้องของข้อมูล 3.  ความเร็วของการทำงาน 4.  ประหยัดต้นทุน


อ้างอิง

- หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2


เครือข่ายคอมพิวเตอร์



เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่ 3 วิธีคือ

1. ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
        1.1 LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น
เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น ภายในมหาวิทยาลัย อาคารสำนักงาน คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน
 
1.2 MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง
เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล

1.3 WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุคต่างๆ

ยุค 1G เป็นยุคที่ใช้สัญญานวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้น สามารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างเดียว คือ สามารถโทรออก-รับสายเท่านั้น ถือเป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์โดยใช้วิธีการปรับสัญญานแอนะล็อกเข้าช่องสื่อสารซึ่งแบ่งความถี่ออกเป็นช่องเล็กๆซึ่งโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ และใช้กำลังไฟฟ้ามากอีกด้วย


ยุค 2G เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบเอนะล็อกมาเป็นการใช้สัญญานดิจิทัล โดยส่งผ่านคลื่นไมโครเวฟทำให้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้นอกเหนือจากการใช้งานทางเสียงเพียงอย่างเดียวโดยสามารถรับส่งข้อมูลต่างๆและเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพจนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐานหรือที่เรียกว่า เซลล์ไซต์ (cell site) และก่อระบบ GSM (Global System for Mobile Communication) ซึ่งทำให้สามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า บริการข้ามเครือข่ายบ (roaming)

      ยุค 3G ใช้บริการมัลติมีเดีย  และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 2 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าเคร์อข่าย EDGE ที่ใช้ในปัจจุบันเกือบ10 เท่า มีช่องสัญญาณความถี่ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า เข้าถึงอินเตอร์เน็ตไดก้มากกว่า เช่น GSM
      ยุค 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ มีความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 เมกกะบิตต่อวินาที่ สามารถเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบ 3 มิติ ( three- dimensional :3D ) ระหว่างผู้ใช้่โทรศัพท์ด้วยกันเองโดยใช้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ั
Ericsson Hotline โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Portable Set

บรอดแบนด์

บรอดแบนด์  คือ   ระบบการสื่่่ือสารที่มีความเร็วสูง รับปริมาณการสื่อสารได้มากมายหลายช่องสัญญาน ซึ่งปัจจุบันระบบบรอดแบนด์ในประเทศไทยได้เข้ามาสู่ผู้ใช้งานตามบ้านแล้ว ด้วยบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง(Asymmetric Digital Subscripber  Line : ADSL)  ซึ่งทำให้การใช้บริการอินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 2.0 เมกะบิตต่อวินาที แต่ในทางธรุกิจโทรคมนาคมคำว่าบรอดแบนด์อาจหมายถึงระดับความเร็วที่มากกว่าหรือเท่ากับ 256 กิโลบิตต่อวินาที ดังนั้นจึงถ์อว่าระดับความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที เป็นระดับความเร็วขั้นต่ำสุดของบรอดแบนด์นั่นเอง