วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มารยาทในการใช้คอมพิวเตอร์

มารยาทในการใช้คอมพิวเตอร์
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น 

2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น 

3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น 

4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย 

5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ 

6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์ 

7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ 

8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน

9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน 

10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ จรรยาวิชาชีพ ของสมาชิกสมาคมเครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์


 

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

e-Learning คืออะไร


e-Learning คืออะไร

          คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น
          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้


ที่มา  http://www.thaiedunet.com/ten_content/what_elearn.html

ISP คือ ?


ISP คือ ?


      ISP หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต คืออะไร ISP คือ บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ซึ่งบางครั้งเรียก ISPs ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน-ผู้เขียน) ย่อมาจากคำว่า Internet Service Provider ตามหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ได้ระบุความหมายว่าหมายถึง "ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต" ISPเป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น แต่สำหรับ ISPประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคล ซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปมาใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด ในการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก โดยมีหลักในการพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่ามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ดำเนินธุรกิจด้านนี้มากี่ปี มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน มีการขยายสาขาเพื่อให้บริการไปยังต่างจังหวัดหรือไม่ มีการลงทุนที่จะพัฒนาการให้บริการมากน้อยเพียงใด เป็นต้น ประสิทธิภาพของตัวระบบ ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราจำเป็นต้องพิจารณาด้วย เช่น ความเร็วในการรับ/ส่ง สม่ำเสมอหรือไม่ (บางครั้งเร็วบางครั้งช้ามาก) สายโทรศัพท์ต้นทางหลุดบ่อยหรือไม่ หรือในบางกรณีที่เรากำลังถ่ายโอนข้อมูล มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ปรากฏว่าใช้งานไม่ได้ การเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ ไปที่ใดบ้างด้วยความเร็วเท่าไหร่ และการเชื่อมต่อกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเป็นอย่างไร มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย งานหลักของ ISP ISP : Internet Service Provider คือ บริษัทที่ให้บริการทางด้านอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก รวมถึงค่าบริการก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เราต้องคำนึงถึง โดยหลักการพิจารณา ISP นั้น เราต้องดูว่า ISP มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปไปใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด หน้าที่โดยทั่วไปของ ISP ก็อย่างที่บอกแต่แรกว่าคำว่า ISP มีหลายความหมาย หลายบทบาท ซึ่งแต่ละบทบาทนั้นความรับผิดก็จะแตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะขอกล่าวถึงในความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป คือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เนตโดยจะรวมไปถึงบริการ Webhosting ซึ่งหมายถึง บริการให้เช่าพื้นที่ Website และผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล Webboard สาธารณะ โดยอาจรวมถึง Webmaster ที่มีความรับผิดชอบโดยตรงกับข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บด้วย หน้าที่หลักๆของ ISP ก็คือ
การให้บริการทางอินเทอร์เน็ต การดูแล Website การตรวจสอบข้อมูลที่จะผ่านออกไปลงในเว็บ ผู้ให้บริการ ISP มี 18 แห่งคือ 1.บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด 2. บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด 3. บริษัท อินโฟ แอคเซส จำกัด 4. บริษัท สามารถ อินโฟเน็ต จำกัด 5. บริษัท เอเน็ต จำกัด 6.บริษัท ไอเน็ต (ประเทศไทย) จำกัด 7. บริษัท เวิลด์เน็ต แอน เซอร์วิส จำกัด 8. บริษัท ดาตา ลายไทย จำกัด 9.บริษัท เอเชีย อินโฟเน็ต จำกัด 10. บริษัท ดิไอเดีย คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด 11. บริษัท สยาม โกลบอล แอกเซส จำกัด 12. บริษัท ซีเอส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 13. บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด 14. บริษัท ชมะนันท์ เวิลด์เน็ต จำกัด 15. บริษัท ฟาร์อีสต์ อินเทอร์เน็ต จำกัด 16. บริษัท อีซีเน็ต จำกัด 17. บริษัท เคเบิล วายเลส จำกัด 18. บริษัท รอยเน็ต จำกัด (มหาชน)

Blog



   
บล็อก (อังกฤษ: blog) หรือ เว็บล็อก (weblog) เป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำว่า blog ย่อมาจากคำว่าweblog หรือ web log โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูมบันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเองในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย
  สรุปง่ายๆ Blog ก็คือ Website รูปแบบหนึ่ง ที่มีการจัดเรียง เรื่อง” หรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่บนสุด ส่วนเรื่องเก่าสุดก็จะอยู่ด้านล่างสุด
Blog อาจจะพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นของ ไดอารี่ online ก็เป็นได้ โดย Blog จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ไม่จำกัด ซึ่ง ไดอารี่ ก็ถือว่าเป็น Blog ในรูปแบบหนึ่ง
Blog ส่วนใหญมักจะเขียนโดยคนเพียงคนเดียว แต่ก็มีไม่น้อยที่เขียนเป็นกลุ่ม โดยอาจจะมีเรื่องราวเฉพาะไปที่ๆเรื่องประเภทเดียว หรือบางทีก็หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เรื่องราวที่เขียนขึ้นมานาน จะถูกเก็บรวบรวมเป็น Archives เก็บไว้ โดยมักจะแสดงผลเป็น link ในรูปแบบ วันเดือนปี เพื่อให้เราสามารถกดเข้าไปดูได้ ก็ไม่ต้องตกใจว่าที่หน้าแรกของ Blog บางทีก็มีเรื่องแสดงแค่ 10 เรื่องก็หมดแล้ว เพราะบางทีใน Archives อาจมีเรื่องอยู่ในนั้นอีกเป็นร้อยๆ โดยที่เราต้องเข้าไปดู
http://sornorpub.wordpress.com/2012/01/08/%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/อังกฤษ: blog) หรือ เว็บล็อก (weblog) เป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำว่า blog ย่อมาจากคำว่าweblog หรือ web log โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูมบันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเองในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย
สรุปง่ายๆ Blog ก็คือ Website รูปแบบหนึ่ง ที่มีการจัดเรียง เรื่อง” หรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่บนสุด ส่วนเรื่องเก่าสุดก็จะอยู่ด้านล่างสุด
Blog อาจจะพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นของ ไดอารี่ online ก็เป็นได้ โดย Blog จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ไม่จำกัด ซึ่ง ไดอารี่ ก็ถือว่าเป็น Blog ในรูปแบบหนึ่ง
Blog ส่วนใหญมักจะเขียนโดยคนเพียงคนเดียว แต่ก็มีไม่น้อยที่เขียนเป็นกลุ่ม โดยอาจจะมีเรื่องราวเฉพาะไปที่ๆเรื่องประเภทเดียว หรือบางทีก็หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เรื่องราวที่เขียนขึ้นมานาน จะถูกเก็บรวบรวมเป็น Archives เก็บไว้ โดยมักจะแสดงผลเป็น link ในรูปแบบ วันเดือนปี เพื่อให้เราสามารถกดเข้าไปดูได้ ก็ไม่ต้องตกใจว่าที่หน้าแรกของ Blog บางทีก็มีเรื่องแสดงแค่ 10 เรื่องก็หมดแล้ว เพราะบางทีใน Archives อาจมีเรื่องอยู่ในนั้นอีกเป็นร้อยๆ โดยที่เราต้องเข้าไปดู

ที่มา: 
    อีเมล์ ย่อมาจากคำว่า Eelectronic Mail หรือ E-mail ในภาษาไทยเรียกว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการส่งสัญญานอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งแทนจดหมายกระดาษ
     

     ซึ่งคือการรับ-ส่ง ข้อความที่มีลักษณะเหมือนกับการส่งจดหมายผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ย้งมีประสิทธิภาพเหนือกว่าจดหมายธรรมดาคือ สามารถส่งแฟ้มข้อมูล ที่เป็น โปรแกรม ภาพ  ภาพเคลื่อนไหว เสียง ฯลฯ แนบไปกับ อีเมล์ส่งถึงผู้รับได้ทั่วโลก


ที่มา : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=50b3dd98e3afbf83

HTML คืออะไร




   HTML ย่อมาจากคำว่า HyperText Markup Language เป็นภาษาที่ใช้ในการแสดงผลของเอกสารบน website หรือที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ เป็นภาษาที่พัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C)

HTML เป็นภาษาที่สำคัญมากกับเทคโนโลยีบนเว็บไซต์ ไม่ว่าคุณจะเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ด้วยภาษาใด ๆ ๆ เช่น PHP, ASP, Perl หรืออื่น ๆ คุณก็ต้องมีความจำเป็นในการแสดงผลข้อมูลออกมายัง Web Browser ด้วยภาษา HTML เป็นหลักใหญ่ หรือให้เรามองว่า HTML คือ Output ในการแสดงผลสู่จอภาพของ Web Browser

รูปแบบการเขียนของภาษา HTML
HTML มีรูปแบบการเขียนในลักษณะ TAG ซึ่ง TAG นี้จะมีทั้ง TAG เปิด และ Tag ปิด โดยที่ TAG จะมีลักษณะ ดังนี้
<TAG>…………………</TAG>
<TAG> คือ TAG เปิด
</TAG> คือ TAG ปิด
แต่กระนั้นในภาษา HTML ก็ยังมีรูปแบบของ TAG อีกประเภทหนึ่ง คือ TAG เดี่ยว ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมี TAG ปิดเข้าร่วมด้วย เช่น
<BR> เป็น TAG สำหรับการขึ้นบรรทัดใหม่ของ HTML
<IMG> เป็น TGA สำหรับการแสดงรูปภาพ
ภาษา HTML เป็นภาษาที่ไม่คำนึงถึงขนาดของตัวอักษร เช่น TAG <IMG> เราจะเขียนเป็น <img> or <Img> ก็จะสามารถแสดงผลได้เช่นเดียวกัน และภาษา HTML ไม่มีการแจ้ง Error แต่อย่างใดหากผู้เขียนมีการเขียน TAG ซึ่งผิดพลาด เพียงแต่ภาษา HTML จะไม่แสดงผลตามที่ต้องการเท่านั้นหากเรามีการเขียน TAG คำสั่งผิดพลาด


โครงสร้างของ HTML
HTML มีรูปแบบโครงสร้างที่ประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนของ HEAD สำหรับข้อมูลในส่วนหัวของ HTML เช่น ข้อความบน Title bar เป็นต้น
2. ส่วนของ BODY สำหรับการแสดงผลยังหน้าเอกสาร หรือหน้า Web Browser
โดยทั้ง 2 ส่วนประกอบข้างต้น จะถูกกำกับภายใต้ TAG <HTML> ….. </HTML>

» HEAD Section
ส่วนของ HEAD ของเอกสาร HTML เป็นส่วนที่เราจะสามารถใส่คำอธิบายเว็บเพจ เช่น Title หรือชื่อเรื่องของเอกสาร, Keyword สำหรับการค้นหา ซึ่งเราจะเขียน TAG ในกลุ่มของ HEAD ไว้ภายใน TAG <HEAD> …… </HEAD> เช่น

<html>
<head>
<meta http-equiv=content-type content="text/html; charset=tis-620">
<title>ข้อความปรากฏบน Title Bar</title>
</head>
<body>
.................................................................
.................................................................
</body>
</html>


- <TITLE>
คือข้อความที่จะแสดงผลบน Title Bar บน Web Browser
- <META HTTP-EQUIV="Content-Type" CONTENT="text/html; charset=TIS-620">
คือ TAG สำหรับการกำหนด Encoding ของ webpage
Head เรายังสามารถใส่หรือพิมพ์ TAG อื่น ๆ เข้าไปได้อีก เช่น TAG <script> หรืออื่น ๆ เป็นต้น

» Body Section
ส่วนของ Body เป็นส่วนที่จะแสดงผลออกไปยังหน้า Web Browser เช่น การแสดงผลรูปภาพ การแสดงผล Contents การสร้างจุดเชื่อมโยง ซึ่งเราจะเขียน TAG ในกลุ่มของ Body ไว้ภายใน TAG <BODY> ….. </BODY> เป็นต้น

<body>
<p>Hello.....HTML</p>
<a href=”http://www.dwthai.com”>GO TO DWTHAI.COM</a>
</body>
</html>



- <P> คือ การกำหนด Paragraph ของข้อมูลภายในเว็บเพจ
- <A> คือ การสร้างจุดเชื่อมโยง หรือ Link
ภายใน TAG <BODY> ยังมี TAG ที่เราจะใช้งานอยู่มากมายเพื่อใช้ในการตกแต่งหน้า webpage ของเรา เช่น การกำหนดสีตัวอักษร, การแทรกรูปภาพ, การสร้างตาราง เป็นต้น

เริ่มต้นเขียน HTML
เราสามารถเขียน HTML ได้จากโปรแกรม TEXT Editor ทั่วไป เช่น Notepad เป็นต้น โดยวิธีการเขียน ก็เหมือนกันการพิมพ์เอกสารทั่ว ๆ ไป เพียงแต่เวลาที่เราทำการเซพ (Save) ไฟล์ให้เราทำการ Save เก็บไว้เป็นไฟล์นามสกุลเป็น *.htm or *.html
http://www.dwthai.com/Article/begin_html.htm


HTML (ชื่อเต็มคือ Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) คือภาษามาร์กอัปออกแบบมาเพื่อใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรับ .html และ สำหรับ .htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร


[แก้] มาร์กอัป
ลักษณะชนิดของมาร์กอัป ใน HTML

มาร์กอัปสำหรับ โครงหลัก อธิบายจุดประสงค์ ของข้อมูล ตัวอย่างเช่น
<h2>ฟุตบอล</h2>
กำหนดให้เบราว์เซอร์คำนวณ "ฟุตบอล" เป็นลักษณะของหัวข้ออันดับที่ 2 มาร์กอัปโครงหลัก โดยปกติไม่ได้กำหนดลักษณะการแสดงผล แต่อย่างไรก็ตาม ทางเบราว์เซอร์กำหนดการแสดงผลมาตรฐานของมาร์กอัป โดยปกติจะแสดงผลในลักษณะที่ตัวอักษรขนาดใหญ่ และมีความหนา การกำหนดลักษณะสามารถทำได้ในส่วนของ Cascading Style Sheets (CSS)
มาร์กอัปสำหรับ การแสดงผล อธิบายการแสดงผลของ ข้อความโดยไม่ได้มีความหมายอื่นในทางโครงสร้าง ตัวอย่างเช่น
<b>ตัวหนา</b> <i>ตัวเอียง</i> <u>ขีดเส้นใต้</u>
กำหนดให้คำว่า "ตัวหนา" แสดงผลในลักษณะตัวหนา เช่นเดียวกับการแสดงผลใน ตัวเอียง หรือ ขีดเส้นใต้
มาร์กอัปไฮเปอร์เท็กซท์ อธิบายการเชื่อมโยงระหว่าง ส่วนหนึ่งของข้อมูลไปยังอีกส่วนหนึ่งของข้อมูล ไม่ว่าจะถูกจัดเก็บในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น
<a href="http://wikipedia.org/">เว็บไซต์วิกิพีเดีย</a>
กำหนดให้การแสดงผล เว็บไซต์วิกิพีเดีย เป็น ไฮเปอร์ลิงก์ ไปที่ URL ที่กำหนดไว้

[แก้] การพัฒนาเว็บเพจแนวใหม่ด้วยมาร์กอัป <Div>
เนื่องจากข้อจำกัดของ HTML ทำให้ผู้ใช้แนวทางเก่าใช้แท็ก Table ในการจัดโครงสร้างของเนื้อหา ในปัจจุบัน ได้มีแนวทางใหม่ในการใช้แท็ก Div ร่วมกับ การกำหนด CSS ในการจัดโครงสร้างของเนื้อหา ตามแบบฉบับการทำงานของบริษัทแมโครมีเดีย ซึ่งทำให้เราสามารถออกนอกกรอบและสามารถจัดเอกสารได้ง่าย และรวดเร็วกว่า อีกด้วย

ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/HTML".

โมเด็ม (Modems)



     เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์ 
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท 

โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้ 
1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ 
ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K 
2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล 
ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ 
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร 
โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้ 
4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด 
โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง 
5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก 
โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems) 
6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ 
โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย 

ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง 
เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่ 
1. พบปะพูดคุย 
2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน 
3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต 
4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้ 
5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้ 
6. ส่ง - รับโทรสาร 
7. ตอบรับโทรศัพท์ 

การเลือกซื้อโมเด็ม 
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น 
1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ 
2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ 
3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ 
4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน 
5. การบีบอัดข้อมูล 
6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด 
7. รับ - ส่งโทรสารได้ 
8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร 

สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม 
การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่ 
1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร 
2. พอร์ทอนุกรม (serial port) 
3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ 
เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม 
4. serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ 
(ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา) 
5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน 
โดยจะต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot 


ที่มา : www.prc.ac.th

ip address เเละ domain name ต่างกันคือ

   Domain Name คือชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้ ชื่อ Domain Name จะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก ไม่แตกต่างกันเพราะ ระบบอินเตอร์เน็ตจะรับรู้ตัวอักษรเป็นตัวเล็กทั้งหมด เช่น ITTradefair.com และ ittradefair.com ถือว่าเป็นชื่อเดียวกัน ส่วนประกอบใหญ่ๆ สามส่วนคือ ชื่อเครื่อง. เช่น DomainAtCost.com ,ThaiCompany.net ฯลฯ ในปัจจุบันได้มีการจดชื่อโดเมนถึงกว่า 30 ล้านชื่อทั่วโลกและ ชื่อโดเมนก็มักจะถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายการค้าของ Website ต่างๆ ด้วยโดยชื่อโดเมนจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ

Standdard Plan ส่วนของชื่อ ซึ่งอาจเป็นชื่อของบุคคล นิติบุคคล องค์กร เครื่องหมายการค้า หรืออื่นๆ ที่ต้องการจะสื่อให้เป็นตัวแทนของ Website นั้นๆ เช่น DomainAtCost, ThaiCompany ฯลฯ

Standdard Plan ลักษณะการประกอบการของ Website นั้นๆ เช่น .com, .net ฯลฯ (คล้ายๆ กับคำแสดงนิติฐานะของนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด กระทรวง สมาคม องค์การ ฯลฯ กรุณาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในข้อ 3)

เนื่องจากชื่อโดเมนจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการชี้ไปยัง Website ดังนั้นจึงไม่สามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้ (ThaiCompany.net และ ThaiCompany.com ถือว่าเป็นคนละชื่อกัน เนื่องจากจดอยู่ภายใต้ลักษณะการประกอบการที่ต่างกัน แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจประกอบการในลักษณะเดียวกัน เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ ควบคุม)

Domain Name ทำงานอย่างไร 
    ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะใช้กลุ่มตัวเลข 4 กลุ่มที่คั่นด้วยจุด (ตัวเลขในแต่ละกลุ่มจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255) เช่น 203.33.192.255 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ IP Address ในการระบุตำแหน่งของ Website ต่างๆ เพื่อให้รู้ว่าอยู่บนเครื่องใดและอยู่ในเครือข่ายใด แต่เนื่องจาก IP Address อยู่ในรูปของตัวเลขซึ่งยากแก่การจดจำดังนั้นจึงเป็นการสะดวกกว่าที่จะใช้ชื่อหรือกลุ่มของตัวอักษร ซึ่งก็คือ Domain Name ในการอ้างอิงแทน โดยจะอาศัย DNS Server มาช่วยจับคู่ IP Address และ Domain name เข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อมีผู้ต้องการที่จะเรียกดู Website ของท่าน ไม่ว่าจะทราบ IP Address หรือ Domain name เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ผิดพลาด

We Server SpecificationDomain Name ที่ลงท้ายด้วย .com และ .net หรือ .net และ .net.th แตกต่างกันอย่างไร 
    ระบบของ Domain Name จะมีการจัดแบ่งออกเป็นหลาย Level โดยเริ่มตั้งแต่ Top Level ซึ่งประกอบด้วย
Generic Domain (gTLD) ซึ่งได้แก่ Domain Name ที่ลงท้ายด้วย .com (Commercial), .net (Networking), .org (Non-Commercial Organization), .edu (Education), .gov (Government), .int (International), .mil (Military)
Standdard Plan.com จะใช้กับองค์กรที่แสวงหาผลกำไร
Standdard Plan.org จะใช้กับองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร
Standdard Plan.net จะใช้กับบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Internet

Country Code Domain (ccTLD) ซึ่งเป็น Domain Name ที่กันไว้สำหรับการใช้งานของประเทศต่างๆ ได้แก่ .th (ประเทศไทย), -.us (สหรัฐอเมริกา), .uk (อังกฤษ) และอื่นๆ
Standdard Plan.co.th จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่แสวงหาผลกำไร
Standdard Plan.or.th จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประทศไทยที่ไม่แสวงหาผลกำไร
Standdard Plan.net.th จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Internet
Standdard Plan.in.th จะใช้กับบุคคลหรือองค์กรใดๆก็ได้ในประเทศไทย

ดังนั้น .com และ .net จึงถือได้ว่าเป็น Domain Name ที่อยู่ในระดับเดียวกัน แต่จะต่างกันที่ลักษณะการประกอบการ กล่าวคือ .com เป็น Website ที่ประกอบการเชิงพาณิชย์ เช่น การขายสินค้าหรือให้บริการ ในขณะที่ .net จะเป็น Website ที่ให้บริการทางด้านอินเตอร์เน็ต เช่น การเชื่อมต่อหรือการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย ส่วน .net.th จะถือเป็น Domain Name ในระดับ Secondary Level (SLD) ที่แยกมาจาก Top Level (TLD) หรือ .th อีกทีหนึ่ง ซึ่งจะหมายถึง Website ที่ให้บริการทางด้านอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย อนึ่ง การแบ่ง Level ของ Domain Name สามารถแบ่งย่อยลงมาได้เรื่อยๆ ตามหลักการของ DNS (Domain Name System) เช่น Ngo.ThaiCompany.net ก็จะหมายถึงกลุ่ม NGO ที่จด Domain Name อยู่ภายใต้ ThaiCompany.net เป็นต้น

แหล่งจดทะเบียน 
    ท่านสามารถที่จะจด Domain Name กับผู้ให้บริการรับจดรายใดก็ได้ทั่วโลก ทั้งนี้การจะจดอย่างไรจะขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน เช่น หากต้องการให้ Website มีภาพลักษณ์ที่เป็นสากล ก็ควรจดในลักษณะ .com, .net หรือ .org แต่หากว่าต้องการสื่อว่าเป็น Website ที่ให้บริการในประเทศไทย ก็ควรจดเป็น .co.th, .net.th, .or.th หรืออื่นๆ ซึ่งกรณีนี้จะต้องทำการจดกับ THNIC ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลการจด Domain Name เพียงแห่งเดียวในประเทศไทยเท่านั้น นอกจากนี้โดเมนเนมของบางประเทศ เช่น
.at (Austria), .cc (Cocos Islands), .to (Tonga), .tv (Tuvalu) และอื่นๆ ก็เป็นที่นิยม เนื่องจากสามารถใช้สื่อความหมายเฉพาะอย่างได้ แต่เนื่องจากเป็นของประเทศ ดังนั้นการจดก็จะต้องขึ้นกับเงื่อนไขที่กำหนดโดย Registry ของประเทศนั้นๆท่านสามารถจะจดโดเมนเองได้ที่ http://www.we.co.th ในกรณีที่ต้องการจดโดเมนของอเมริกา หรือ http://www.thnic.net/ ในกรณีที่ต้องการจดโดเมนของไทย

ระยะเวลาในการเป็นเจ้าของ Domain Name 
   เนื่องจาก Domain Name ถือเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ดังนั้นกรรมสิทธิ์ หรือความเป็นเจ้าของจะคงอยู่ตราบเท่าระยะเวลาของสัญญาที่ทำไว้กับผู้ให้บริการรับจดแต่ละราย โดยสามารถทำการต่ออายุสัญญาเป็นงวดๆ ไป (สิทธิ์ความเป็นเจ้าของ Domain Name จะเป็นของท่าน โดยข้อมูลทั้งหมดที่ลงทะเบียนไว้จะถูกเก็บอยู่ในระบบฐานข้อมูลของ NSI ซึ่งเป็นผู้ดูแลระบบฐานข้อมูลหลักในปัจจุบัน

ข้อดีของการจดทะเบียนหลายปี 
ในการจดชื่อโดเมน ระยะเวลาของสัญญาจะขึ้นกับดุลยพินิจและความพร้อมของท่าน สำหรับการจดแบบหลายปี (ท่านสามารถเลือกจดได้ตั้งแต่ 1-10 ปี) เป็นการรองรับความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาค่าบริการและอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินในอนาคต เนื่องจากค่าบริการของท่านจะถูกจ่ายครั้งเดียวในตอนเริ่มต้นด้วยอัตราค่าบริการในขณะนั้น ดังนั้นจึงเหมือนกับว่าในปีต่อๆ ไปท่านก็ยังคงสามารถจ่ายค่าบริการด้วยอัตราเดิมแม้ว่าค่าบริการจะปรับตัวสูงขึ้น (เรายังคงคาดหมายว่าแนวโน้มราคาค่าบริการของตลาดโดยรวมในอนาคตจะปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดีเนื่องจากในอนาคตการออกกฎหมายมาควบคุมการจดทะเบียนชื่อโดเมนคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ชื่อโดเมนก็ยังถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด) ดังนั้นการจดชื่อโดเมนแบบหลายปีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่น่าจะมองข้าม เพราะนอกจากจะช่วยท่านประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วยังช่วยให้ท่านไม่ต้องเสียเวลาในการต่ออายุสัญญาทุกๆ ปีอีกด้วย (หากท่านจดชื่อโดเมนกับเราไม่ว่าจะกี่ปีก็ตาม อายุสัญญาของชื่อโดเมนของท่านก็จะเป็นไปตามนั้น จะไม่มีการนำเงินมาหมุนใช้ก่อนแล้วนำไปจดใหม่เป็นรายปีในภายหลัง

การเตรียมการเพื่อจดชื่อโดเมน
    ชื่อโดเมนที่ต้องการจดทะเบียน เลือกไว้สัก 3 - 4 ชื่อ ป้องกันชื่อไปซ้ำกับชื่อที่ถูกจดไว้แล้ว
ผู้ให้บริการจดโดเมน ที่ต้องการไปจะจดกี่ปี ค่าบริการเท่าไร

Standdard Planเจ้าของชื่อโดเมน (Registrant) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ถ้าหากเป็นองค์กร ให้ใส่ชื่อองค์กร
Standdard Planผู้ดูแลชื่อโดเมน (Administrative contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์
Standdard Planผู้ติดต่อทางเทคนิคโดเมน (Technical contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์
Standdard Planผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจดโดเมน (Billing contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์

การจดชื่อโดเมนไม่ใช่เรื่องยาก หลังจากเลือกได้แล้วว่า จะจดทะเบียนกับผู้รับจดทะเบียนรายไหน ก็เปิดเว็บไซต์ไปจดได้เลย อย่างไรก็ตาม อยากแนะนำให้ใช้วิธีการเตรียมการหลายๆอย่างไว้ก่อน เพื่อให้การจดทะเบียนทำได้รวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ พร้อมทั้งสอดคล้องกับความต้องการมากขึ้น

อ้างอิงข้อมูลจาก : tradepointthailand.com 

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

IP Address คือ



  หมายเลขไอพี (IP Address) หมายถึง กลุ่มของตัวเลขที่ใช้อ้างอิงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายในอินเตอร์เน็ต

  หมายเลขไอพีประกอบด้วย กลุ่มของตัวเลข 4 ชุด แต่ละสุดมีจุดคั่นกลาง โดยตัวเลขแต่ละชุดจะมีค่าอยู่ระหว่าง 1 - 255 เช่น 66.116.142.156 หรือ 66.116.136.148 เป็นต้น

ที่มา: ttps://www.google.com/#hl=th&sclient=psy-ab&q=ip+address+%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87&oq=IP+A&gs_l

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Web browser คือ


 Web browser คือ

เว็บเบราว์เซอร์ (web browserเบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประโยชน์ของ Web Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page

รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
  1. Internet Explorer
  2. Mozilla Firefox
  3. Google Chrome
  4. Safari

www คือ

ความเป็นมาของ WWW
www  เริ่มมีพัฒนาการมาในราวปี  ค.ศ .    1989      ที่ Cern ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์แห่งยุโรป                  ตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  โดย  Bernner – Lee   เป็นผู้ริเริ่มโครงการ   ต่อมาในปี  ค.ศ.  1990   ก็ได้ทำการพัฒนา     www  ให้มีประสิทธิภาพมาก
World Wide Web หมายถึงอะไร
     Wold Wide Web ( WWW )   หมายถึง  เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก   เรียกย่อว่า   “ เว็บ “  (   Web )  ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม  ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้า  แต่ละหน้าเรียกว่า  “เว็บเพจ”  ( Web Page )
แหล่งเก็บเว็บเพจ
     เว็บไซต์  หมายถึง   เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นโกดัง
หรือแหล่งเก็บเว็บเพจต่าง ๆ  ที่มีการเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต   ซึ่งเว็บ
บราวเซอร์จะทำการติดต่อกับเว็บไซต์ที่เก็บเว็บเพจนั้น
     ปัจจุบันหน่วยงานต่าง  ๆ ไม่ว่าภาครัฐหรือภาคเอกชน   รวมทั้งองค์กรอิสระต่าง  ๆให้ความสนใจในการสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง   เพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศ   ข้อมูลและข่าวสารเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลภายในองค์กรของตัวเอง
     URL  คือ  ตำแหน่งที่เก็บเว็บเพจ   ดังนั้นเมื่อ
ต้องการเปิดเว็บเพจที่ต้องการจะต้องระบุตำแหน่งที่ต้องการ  
จะต้องระบุตำแหน่งของเว็บเพจนั้น  ๆ  ซึ่งเรียกว่า  URL
( Uniform   Resource  Location  )
การอ่านข้อมูลจากเว็บบราวเซอร์
     Web Browser    ทุกชนิดจะทำงานโดยการอ่านข้อมูลจาก
Web Server   ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องติดตั้ง Web Browser
ไว้เสมอ เช่น  Nescape  Comminucation , IE



แห่ลงที่มา : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=541d9379dc2d0d58
   โฮมเพจ (Home Page)
       โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งประกอบไปด้วยเมนูต่างๆและเรื่องราวต่างๆมากมายคล้ายกับหน้าปกนิตรสารบ้านเรา ดังนั้นหากเราออกแบบหน้าโฮมเพจให้สวยงามและน่าสนใจ โอกาสที่ผู้ชมจะแวะเข้ามาเยี่ยมเยียนโฮมเพจของเราก็จะยิ่งมากตามไปด้วย



แหล่งที่มา : http://www.websmartpro.net/home/index.asp?autherid=25&ContentID=10000024&title=%E0%C7%E7%BA%E4%AB%B5%EC%A4%D7%CD%CD%D0%E4%C3&bttcol=False


  เว็บไซต์ (Web Site)
           เว็บไซต์ คือ คำที่ใช้เรียกกลุ่มของเว็บเพจ ( ดังนั้นภายในเว็บไซต์จะประกอบไปด้วยโฮมเพจและเว็บเพจ ) โดยเรามักใช้เรียกเว็บที่มีขนาดใหญ่และมีการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์นั้นๆไว้แล้ว (Domain Name) เช่น http://www.geocities.com ,http://www.sanook.com http://www.yahoo.com เป็นต้น



แห่ลงที่มา : http://www.websmartpro.net/home/index.asp?autherid=25&ContentID=10000024&title=%E0%C7%E7%BA%E4%AB%B5%EC%A4%D7%CD%CD%D0%E4%C3&bttcol=False

เว็บเพจ (อังกฤษwebpage, web page) หรือ หน้าเว็บ หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งาน
โดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพและรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ กล่าวคือสามารถคลิกบนรูปเพื่อกระโดดไปหน้าอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอปเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง ได้อีกด้วย
โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้น
โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บเพจ เช่น โปรแกรม Macromedia Dreamweaver , PHP & MySQL , Flash Professional เป็นต้น

อินเทอร์เน็ต


     คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
   
   ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
     ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
 
  ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
  
   ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
    
     ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา
ข้อมูลจาก http://www.computerhistory.org/exhibits/internet_history/
และ http://www.sri.com/about/timeline/arpanet.html